วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554


 

ด้วยวัย ๕๒ ปีนี้มีอายุเท่ากันกับอนุสาร อสท.
หนึ่งความภาคภูมิใจในชีวิตวันนี้
ได้เข้าร่วมโครงการอบรมนักเขียนและช่างภาพอนุสาร อสท.ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในระหว่างเดือน สิงหาคม -กันยายน 2554 โดยทีมงาน อ.ธีรภาพ โลหิตกุล และคณะ(กำลังนำเสนอผลงานการเขียนสารคดี) เรื่องศรีลัชนาลัย เมืองแห่งคนดี ตอน รุ่งเรืองใต้เงาอดีตหลากหลายมิติวิถีชีวิต








หนึ่งความภาคภูมิใจในชีวิตวันนี้ที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
เมืองมรดกโลก มรดกธรรม

ศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนวัดมงคลโกวิทาราม
เรื่อง ลายไทยในวัดบ้านเรา 8 – 9 กันยายน 2554
เรื่อง รูปแบบสถาปัตยกรรมในท้องถิ่น



เยี่ยมบ้านนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อพบผู้ปกครองทุกปี

พลังแห่งความกตัญญูรู้คุณนำสู่ความเจริญ

พลังแห่งความกตัญญูรู้คุณนำสู่ความเจริญ
ความเป็นมาและความสำคัญ

    ความกตัญญูมี 3 ลักษณะ คือ กตัญญูด้วยจิตใจ กตัญญูด้วยวาจา และกตัญญูด้วยการให้ตอบแทน ดังนั้นการรู้จักกตัญญูของคน ถือเป็นคุณสมบัติหนึ่งของคนดีซึ่งสังคมยกย่อง ส่วนการตอบแทนผู้มีพระคุณนั้นมีหลายแบบ ความคิดเทิดทูนในทางที่ดี การใช้วาจางดงามยกย่องให้เกียรติ และการตอบแทนด้วยเงินทอง สิ่งของ ซึ่งกระทำต่อผู้มีพระคุณ ล้วนถือเป็นการแสดงความกตัญญู ดังนั้น ความคิดที่ว่าต้องจ่ายเงินตอบแทนพระคุณหรือทำงานทดแทนคุณ มิใช่วิธีเดียวของการแสดงความกตัญญู  แม้ไม่มีเงินทอง สิ่งของ   ก็อาจตอบแทนด้วยวาจาไพเราะหรือจิตใจที่ดีงามในการคิดถึงผู้มีพระคุณได้ อีกอย่างหนึ่ง การตอบแทนพระคุณด้วยการทำละเมิดกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีในสังคมอันสร้างความเดือดร้อนแก่คนกลุ่มอื่น        เพื่อผลประโยชน์หรือความสุขของผู้มีพระคุณไม่ว่าเขาจะร้องขอหรือไม่ก็ตาม
    จากความสำคัญด้งกล่าวในปีการศึกษา 2553  โรงเรียนบ้านปากห้วยวังนอง ได้บรรจุคุณธรรมความกตัญญู กลุ่มของเราสนใจน่าเรียนรู้  เพราะทุกวันนี้เด็กรุ่นใหม่  ขาดความกตัญญู  ขาดสำนึกในการเป็นลูก  เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ พวกหนูจึงได้สนใจจัดทำโครงงานขึ้นเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเด็กรุ่นใหม่  หันมาสนใจดูแลญาติผู้ใหญ่ เป็นลูกที่ดี  พลเมืองดีของชาติ และโรงเรียนได้บรรจุใส่ในคุณธรรมพื้นฐาน 9 ประการเพื่อให้นักเรียนมีความกตัญญูต่อบุพการี ต่อญาติผู้ใหญ่ ต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสืบค้นหานักเรียนที่มีความกตัญญูต่อบุคคลต่าง ๆ
2. เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความกตัญญู
3. เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุขเพราะทุกคนได้มีความกตัญญูและจะก่อให้เกิดสิ่งที่ดีตามมา
4. ชุมชนมีความรักผูกพันกันเพราะความกตัญญูเป็นเครื่องหมายเชิดชูความดี
ขอบเขตของการศึกษา
นักเรียนชั้น  ป.6/2  โรงเรียนบ้านปากห้วยวังนอง จำนวน  39  คน


ผลที่ได้รับ
1. นักเรียนชั้น ป.6/2 หันมาสนใจรู้สำนึกถึงบุพการรีและผู้มีพระคุณ
2. เพื่อน ๆ นักเรียนรุ่นน้องเห็นพี่มีความกตัญญู น้อง ๆ ได้เอาเป็นแบบอย่าง
3. ทางโรงเรียนมีโครงการป,กจิตสำนึกสำคัญให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความกตัญญูในวันสำคัญต่าง ๆ  เช่น  วันแม่  วันพ่อ  วันไหว้ครู  วันสถาปนาโรงเรียน
4. สังคมมีความชื่นชมยินดีมีความสุขเพื่อเห็นนักเรียนส่วนมากมีความกตัญญู
5. ได้เผยแพร่โครงงานคุณธรรมที่ เวบไซต์ ครูบ้านนอกดอทคอม
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
    ความกตัญญู คือ ความรู้คุณ หมายถึงความเป็นผู้มีใจกระจ่าง มีสติ มีปัญญาบริบูรณ์ รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน ผู้ใดก็ตามที่ทำคุณแก่ตนแล้ว ไม่ว่าจะมากก็ตาม น้อยก็ตาม เช่น เลี้ยงดูสั่งสอน ให้ที่พัก ให้งานทำ ฯลฯ ย่อมระลึกถึงด้วยความซาบซึ้งอยู่เสมอ ไม่ลืมอุปการคุณนั้นเลย
อีกนัยหนึ่ง ความกตัญญู หมายถึง ความรู้บุญ หรือรู้อุปการะของบุญที่ตนทำไว้แล้ว รู้ว่าที่ตนเองพ้นจากภัยอันตรายทั้งหลายได้ดีมีสุขอยู่ในปัจจุบันก็เพราะบุญทั้งหลายที่เคยทำไว้ในอดีตส่งผลให้ จึงไม่ลืมอุปการะของบุญนั้นเลย และสร้างสมบุญใหม่ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
รวมความกตัญญู จึงหมายถึง การรู้จักบุญคุณ อะไรก็ตามที่เป็นบุญ หรือมีคุณต่อตน แล้วก็ตามระลึกนึกถึงด้วยความซาบซึ้งไม่ลืมเลย คนมีกตัญญูถึงแม้จะนัยน์ตาบอดมืดทั้งสองข้าง แต่ใจของเขาใสกระจ่างยิ่งกว่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ รวมกันเสียอีก
สิ่งที่ควรกตัญญู
สิ่งที่ควรแก่ความกตัญญูแบ่งได้เป็น ๕ ประการ ได้แก่
1. กตัญญูต่อบุคคล คือ ใครก็ตามที่เคยมีพระคุณต่อเรา ไม่ว่าจะมากน้อยเพียงไร จะต้องกตัญญูรู้คุณท่าน ติดตามระลึกถึงเสมอด้วยความซาบซึ้งพยายามหาโอกาสตอบแทนคุณท่านให้ได้ โดยเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์ บิดามารดา ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ พระมหากษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ทรงทศพิธราชธรรม จะต้องตามระลึกนึกถึงพระคุณของท่านให้จงหนัก ให้ปฏิบัติตัวให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และเป็นพุทธมามกะสมชื่อ
2. กตัญญูต่อสัตว์ คือ สัตว์ที่มีคุณต่อเรา เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ที่ใช้งาน จะต้องใช้ด้วยความกรุณาปรานี ไม่เฆี่ยนตีมันจนเหลือเกิน อย่าใช้งานหนักจนเป็นการทรมาน และเลี้ยงดูให้อาหารอย่าให้อดอยากให้ได้กินได้นอนได้พักผ่อนตามเวลา ตัวอย่างในเรื่องกตัญญูต่อสัตว์นี้มีอยู่ว่า ในสมัยก่อนพุทธกาล วันหนึ่ง พระเจ้ากรุงราชคฤห์ เสด็จประพาสอุทยาน และได้บรรทมหลับในอุทยานนั้น ขณะนั้นมีงูเห่าตัวหนึ่งเลื้อยเข้ามาและกำลังจะฉกกัดพระองค์ เผอิญมีกระแตตัวหนึ่งเห็นเข้าแล้วร้องขึ้น พระองค์จึงสะดุ้งตื่นและไล่งูหนีไปทัน ทรงระลึกถึงคุณของกระแตว่าเป็นผู้ช่วยชีวิตพระองค์ไว้ จึงรับสั่งให้พระราชทานเหยื่อแก่กระแตในอุทยานนั้นทุกวัน และห้ามไม่ให้ใครทำอันตรายแก่กระแตในอุทยานนั้น คนทั้งหลายจึงเรียกอุทยานนั้นว่า “เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน” แปลว่า ป่าไผ่อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต ซึ่งต่อมาก็คือ “เวฬุวันมหาวิหาร” วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
3. กตัญญูต่อสิ่งของ คือ ของสิ่งใดก็ตามที่มีคุณต่อเรา เช่นหนังสือ ธรรมะ หนังสือเรียน สถานศึกษา วัด ต้นไม้ ป่าไม้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการหาเลี้ยงชีพ ฯลฯ จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ให้ดี ไม่ลบหลู่ดูแคลน ไม่ทำลาย ตัวอย่าง เช่น ไม้คานที่ใช้หาบของขาย เมื่อเจ้าของตั้งตัวได้ ร่ำรวยขึ้นก็ไม่ทิ้ง ยังคิดถึงคุณของไม้คานอยู่ ถือเป็นของคู่ชีวิต ช่วยเหลือตนสร้างฐานะมา จึงเลี่ยมทองเก็บไว้เป็นที่ระลึก อย่างนี้ก็มี
มีกล่าวไว้ในเตมียชาดกว่า “อย่าว่าถึงคนที่เราได้พึ่งพาอาศัยกันเลย แม้แต่ต้นไม้ที่ได้อาศัยร่มเงา ก็หาควรจะหักกิ่งลิดก้านรานใบของมันไม่ ผู้ใดพำนักอาศัยนั่งนอนใต้ร่มเงาของต้นไม้ใดแล้ว ยังขืนหักกิ่งลิดก้านรานใบ เด็ดยอดขุดรากถากเปลือก ผู้นั้นชื่อว่าทำร้ายมิตร เป็นคนชั่วช้าเลวทราม จะมีแต่อัปมงคลเป็นเบื้องหน้า"
4. กตัญญูต่อบุญ คือ รู้ว่าคนเราเกิดมามีอายุยืนยาว ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณดี สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความสุขความเจริญ มีความก้าวหน้า มีทรัพย์สมบัติมาก ก็เนื่องมาจากผลของบุญ จะไปสวรรค์หรือกระทั่งไปพระนิพพานได้ก็ด้วยบุญ กล่าวได้ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยบุญ ทั้งบุญเก่าที่ได้สะสมมาดีแล้ว และบุญใหม่ที่เพียรสร้างขึ้นประกอบกัน จึงมีความรู้คุณของบุญ มีความอ่อนน้อมในตัว ไม่ดูถูกบุญ ตามระลึกถึงบุญเก่าให้จิตใจชุ่มชื่น และไม่ประมาทในการสร้างบุญใหม่ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
5. กตัญญูต่อตนเอง คือ รู้ว่าร่างกายของเรานี้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่เราจะได้อาศัยใช้ในการทำความดี ใช้ในการสร้างบุญกุศลนานาประการเพื่อความสุข ความเจริญก้าวหน้า แก่ตนเองต่อไป จึงทะนุถนอมดูแลร่างกายรักษาสุขภาพให้ดี ไม่ทำลายด้วยการกินเหล้าเสพสิ่งเสพย์ติด เที่ยวเตร่ดึกๆ ดื่นๆ และไม่นำร่างกายนี้ไปประกอบความชั่ว เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เจ้าชู้ อันเป็นการทำลายตนเอง

ความกตัญญูจำเป็นอย่างไรในการสร้างความดี
การที่คนเราจะมีความคิดใฝ่ดี ตั้งใจทำความดีสร้างสมคุณธรรมให้เกิดขึ้นในตัว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ที่ยากยิ่งกว่านั้นก็คือ ทำอย่างไรจึงจะรักษาความตั้งใจที่ดีนั้นไว้ โดยไม่ท้อถอยไม่เลิกกลางคัน เพราะในการทำความดีย่อมมีอุปสรรค มีปัญหาขัดขวางมากมาย ไหนจะปัญหาภายนอกจากคนรอบข้างจากสิ่งแวดล้อม ไหนจะปัญหาภายในจากกิเลส รุมล้อมประดังกันเข้ามา เราจะเอาตัวรอด ยืนหยัด สู้ปัญหาทั้งหลายที่เข้ามาผจญได้ โดยไม่ท้อถอย ก็ต้องมีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวใจไว้ นั่นคือความกตัญญู
ไปโรงเรียน เรียนหนังสือ แม้จะยากแสนยาก ท้อถอยจะเลิกเสียก็หลายครั้ง เพื่อนฝูงบางคนชวนไปเที่ยวเตร่เฮฮา ดูน่าสนุกกว่ามากแต่เมื่อนึกถึงคุณพ่อคุณแม่ คิดว่าท่านอุตส่าห์ทะนุถนอมเลี้ยงดูเรามาจนเติบใหญ่ ท่านฝากความหวังไว้กับตัวเรา อยากเห็นตัวเราได้ดีเพียงใดพอคิดเท่านี้ ความกตัญญูเกิดขึ้น ก็มีแรงสู้ แม้จะยากแสนยาก แม้จะเหนื่อยแสนเหนื่อย ก็กัดฟันสู้ มุมานะตั้งใจเรียนให้ดีให้ได้ ไม่ยอมประพฤติตัวไปในทางเสื่อมเสียแก่วงศ์ตระกูลให้คุณพ่อคุณแม่ ครูบาอาจารย์ ได้อายโดยเด็ดขาด
เพราะเหตุนี้ จึงมีนักปฏิบัติธรรม นักเผยแผ่ธรรมะ รวมทั้งผู้ที่ตั้งใจทำงานเพื่อสังคมส่วนรวม หลายๆ คนเบื่อหน่าย ท้อถอย และเลิกราไปกลางคันอย่างน่าเสียดาย
แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีความกตัญญูเป็นพื้นใจแล้ว เมื่อความท้อถอย ความเบื่อหน่ายเอือมระอาเกิดขึ้น เพียงแต่นึกว่า ที่เราได้มีโอกาสเรียนรู้ธรรมะรู้การสร้างบุญกุศล รู้วิธีการดำเนินชีวิตอันประเสริฐ รู้บุญรู้บาปอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ได้ทรงเสียสละอุทิศชีวิตทุ่มเทค้นคว้าจนตรัสรู้หลักอริยสัจ คือ ความจริงอันประเสริฐทั้งหลายมาสอนเรา ได้คิดถึงชีวิต เลือดเนื้อ ความเพียรพยายามที่พระองค์ได้ทรงทุ่มเทลงไปตลอดระยะเวลาที่ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่นานถึง 4 อสงไขยกับแสนกัปว่ามากมายมหาศาลเพียงใด (เวลากัปหนึ่งอุปมาได้กับมีภูเขาหินรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ กว้าง 16 กิโลเมตร ยาว 16 กิโลเมตร สูง 16กิโลเมตร ทุก 100 ปี มีเทวดาเอาผ้าทิพย์บางเบา มาลูบครั้งหนึ่ง เมื่อใดภูเขาลูกนี้สึกหมด เรียบเสมอพื้นดินระยะเวลานั้นเท่ากับกัปหนึ่ง 1 อสงไขย = 10^140 คือ จำนวนที่มีเลข 1 และมีเลข 0 ต่อท้าย 140 ตัว) ตลอดจนคิดถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ท่านอุตส่าห์ถ่ายทอดคำสอนชองพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อๆ กันมา และอบรมสั่งสอนให้เราได้ทราบได้รู้ถึงคำสอนของพระองค์ โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก คิดเพียงเท่านี้ ความท้อถอยก็หาย ความเหนื่อยหน่ายก็คลาย แม้ความตายก็ไม่หวั่น เกิดกำลังใจที่จะทำความดีต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
ความกตัญญูจึงเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง ที่จะประคองใจของเราให้ดำรงมั่นอยู่ในคุณธรรมอันยิ่งๆ ขึ้นไป   อานิสงส์การมีความกตัญญู
1. ทำให้รักษาคุณความดีเดิมไว้ได้
2. ทำให้สร้างคุณความดีใหม่ได้อีก
3. ทำให้เกิดสติ ไม่ประมาท
4. ทำให้เกิดหิริโอตตัปปะ
5. ทำให้เกิดขันติ
6. ทำให้จิตใจผ่องใส มองโลกในแง่ดี
7. ทำให้เป็นที่สรรเสริญของคนดี
8. ทำให้มีคนอยากคบหาสมาคม
9. ทำให้ทั้งมนุษย์และเทวดาอยากช่วยเหลือ
10. ทำให้ไม่มีเวรไม่มีภัย
11. ทำให้ลาภผลทั้งหลาย เกิดขึ้นโดยง่าย
12. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย
วัสดุอุปกรณ์
1. สมุดบันทึก
2. ปากกา หรือ ดินสอ
3. กล้องบันทึกภาพ
4. คอมพิวเตอร์ ปริ๊นเตอร์ อินเทอร์เน็ต
5. ชุมชน
6. วัดมงคลโกวิทาราม
7. บ้านของนักเรียนแต่ละคน
8. โรงเรียนบ้านปากห้วยวังนอง
9. รถจักรยาน

ขั้นตอนและวิธีการศึกษาค้นคว้า
1. สอบถามเพื่อน ๆ ในห้องเรียน ชั้น ป.6/2 ว่าจะพัฒนาคุณธรรมในข้อใด เพื่อน ๆ ตกลงกันว่าจะพัฒนาคุณธรรมความกตัญญูกตเวที
2. คิดหัวข้อโครงงานเสนอความคิดร่วมกัน  เรื่อง ความเป็นมา ความสำคัญและผลที่จะได้รับ
3. ประชุมวางแผนแบ่งความรับผิดชอบโดยการไปสอบถามเพื่อน ๆ
4. ศึกษาค้นคว้าเอกสารทางอินเทอร์เน็ตและค้นคว้าโครงงานที่เกี่ยวข้องกับความกตัญญู
5. ปฏิบัติกิจกรรมออกสำรวจ สัมภาษณ์ ข้อมูลเกี่ยวกับความกตัญญูของเพื่อน ๆ ทุกคนในห้อง  ป.6/2
6. รวบรวมข้อมูลเอกสารเป็นรูปเล่ม
7. เขียนรายงานผลงาน
8. ตรวจสอบความถูกต้อง
9. สรุปผลการศึกษา
10. ฝึกการนำเสนอผลงาน
11. เขียนรายงานแล้วเผยแพร่ผลงาน
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
จากการศึกษา  สัมภาษณ์  และสอบถามเพื่อน ๆ ภายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 พบว่าส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่กับญาติที่ไม่ใช่  บิดา – มารดา ของตน บิดา – มารดา หย่าร้าง หรือไปทำงานต่างจังหวัด  ทิ้งให้อยู่กับตายายและทำให้เด็กมีปัญหาไม่เชื่อฟังตายาย เพราะ ตา ยาย  ไม่เข้าใจเด็ก  จะมีแค่เด็กส่วนน้อยที่มีความกตัญญูต่อ ตา ยาย หรือผู้มีพระคุณอื่นที่นักเรียนได้พักอาศัยอยู่ด้วย และเราได้นำเสนอนักเรียนเหล่านี้ให้กับกรรมการสภานักเรียนเพื่อจะได้ทำเกียรติบัตรเป็นกำลังใจในการทำความดีและเป็นแบบอย่างให้กับนักเรียนรุ่นต่อไป  พร้อมทั้งให้โรงเรียนได้เพิ่มคุณธรรมด้านความกตัญญู  ให้เป็นคุณธรรมพื้นฐานข้อที่ 9 เพื่อให้นักเรียนได้ท่องและมีจิตสำนึกในการเป็นผู้มีความกตัญญู
ข้อเสนอแนะ
ควรมีใบประกาศและรางวัลเพื่อเป็นแรงจูงใจนักเรียนได้คิดโครงงานดี ๆ เพิ่มขึ้น

อ้างอิง

http://www.kanlayanatam.com/sara/sara86.htm
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php





















โครงงานคุณธรรม
เรื่อง  พลังแห่งความกตัญญูรู้คุณนำสู่ความเจริญ

จัดทำโดย
1. เด็กหญิงธัญนาฏ  พสุนนท์
2. เด็กหญิงปานวาด  ไชยพิมพ์
3. เด็กหญิงศุภิสรา  ศิริวุฒิ
4. เด็กหญิงศุภรัตน์  ไชยทอง

คุณครูที่ปรึกษา
1. คุณครูวชิราภรณ์  สัตยากูล
2. คุณครูสุภวัฒน์  นามเจริญ
3. คุณครูมยุรี  ฉวีรักษ์
4. คุณครูทานิยา  ศรีเมืองซอง

โรงเรียนบ้านปากห้วยวังนอง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี  เขต 1



คำนำ

    โครงงานคุณธรรม เรื่อง พลังแห่งความกตัญญูรู้คุณนำสู่ความเจริญ ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจพัฒนาคุณธรรม ด้านความกตัญญูของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 39 คน ซึ่งการนี้ความกตัญญูดูแล พ่อ – แม่ ญาติผู้ใหญ่  ซึ่งการแสดงความกตัญญูนั้นมีหลายอย่างที่สามารถแสดงได้  แต่ยังไม่มีการสนับสนุนและมองเห็นคุณค่า  ดังนั้นการจัดทำโครงงานนี้ขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง  และมีความเจริญด้านวัตถุ แต่ถดถอยด้านจิตใจและคุณงามความดี  ยังมีสิ่งเล็ก ๆ ที่แฝงอยู่ในสังคมแห่งนี้ ยังคงมีให้เห็นแม้จะเป็นจุดเล็ก ๆ  แต่คงพอจะเป็นแรง กระตุ้นให้เกิดมีความสว่างไสวคอยเป็นกำลังใจให้กับคณะผู้จัดทำได้มีกำลังใจที่จะทำความดีนี้ตลอดไป
เอกสารนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ได้จัดทำขึ้นจากการปฏิบัติมาเป็นตัวหนังสือ  ซึ่งอาจจะไม่ละเอียด  มีข้อบกพร่องบ้าง  แต่ก็เป็นงานที่คณะผู้จัดทำได้พยายามสุดความสามารถแล้ว ถ้ามีข้อผิดพลาดก็ขอน้อมรับด้วยความขอบคุณ  และจะขอบพระคุณเป็นอย่างมากหากได้รับการแนะนำจากผู้ที่ได้ศึกษาเอกสารโครงงานนี้ 

                        คณะผู้จัดทำ







บทคัดย่อ

    โครงงานพลังแห่งความกตัญญูรู้คุณนำสู่ความเจริญกลุ่มพวกเราได้รวมใจกันทำโครงงานนี้เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่ได้มีความสำนึกในความเป็นลูก การอยู่เป็นครอบครัวและความเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ ถ้าเด็กโรงเรียนของเรา  พยายามทำให้ได้ครบ 9 ประการ อย่างที่โรงเรียนได้หวังไว้คงจะประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี และการพัฒนาเด็กที่มีความกตัญญูจะประสบแต่ความดี ๆ ให้เป็นตัวอย่างแก่ประเทศชาติได้
    ผลการศึกษาพบว่า เด็กหญิงธัญนาฏ  พสุนนท์  ได้มีความกตัญญูต่อคุณลุง คุณป้า โดยเฉพาะคุณลุงที่พิการขาถูกตัดมา เป็นเวลา 3 ปีแล้วเด็กหญิงธัญนาฏ จะเป็นคนคอยป้อนข้าว  ป้อนน้ำ   บีบนวด พร้อมทั้งช่วยคุณป้าเลี้ยงน้องด้วยความเต็มใจ และนอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่ขยันเรียนมีผลการเรียนในระดับดีมากทุกวิชา   เด็กหญิงปานวาด  ไชยพิมพ์ เป็นผู้มีความกตัญญูต่อญาติผู้ใหญ่ที่ท่านได้เคยช่วยเหลือโดยการเสนอตัวเข้าไปช่วยงานที่ท่านต้องการความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดบ้าน  หรือการทำอาหารก็ช่วยเสมอ  เด็กหญิงศุภิสรา ศิริวุฒิ และเด็กหญิงศุภธิดา  ศิริวุฒิ ที่เป็นฝาแฝด ได้แสดงความกตัญญูกับ  คุณตา – คุณยาย ที่ได้ดูแลเลี้ยงดูมาตั้งแต่เด็ก  คอยรับส่งตอนมาเรียนหนังสือ  จากการสัมภาษณ์คุณตา – คุณยาย  ต่างก็ภาคภูมิใจในหลานสาวฝาแฝดทั้งสองคน ที่เป็นคนไม่นิ่งดูดายช่วยเหลืองานต่าง ๆ ในบ้านทั้ง ล้างจาน  ซักผ้า  ถูบ้าน และการทำงานบ้านต่าง ๆ  บางครั้งก็ไปถอนหญ้าโดยไม่เคยบังคับให้ทำแต่ทั้งสองจะทำด้วยความเต็มใจ นอกจากนี้ทั้งสองยังแบ่งเวลาในการทำงาน  การเรียน การหาความสุขจากการค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต  และร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นทุกครั้ง เด็กหญิงศุภรัตน์ ไชยทอง  เป็นเด็กดีเชื่อฟังพ่อแม่  มีกริยา  มารยาทเรียบร้อย  ช่วยเหลืองานบ้านพ่อแม่  อย่างเต็มกำลังความสามารถ


กิตติกรรมประกาศ

    ในการทำโครงงานพลังแห่งความกตัญญูรู้คุณนำสู่ความเจริญนี้  เป็นโครงงานที่จัดทำเพื่อส่งเสริมคุณธรรมให้กับเพื่อน ๆ  พี่ ๆ  น้อง ๆ ได้มองเห็นคุณค่าของผู้มีพระคุณกับเราไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อ  คุณแม่  คุณตา  คุณยาย  รวมไปทั้งผู้ปกครองของเราด้วย  นอกจากนั้นการมีความกตัญญูยังควรมีให้กับหลาย ๆ สิ่งด้วย และถ้าจะยิ่งใหญ่ที่สุดทุกคนควรจะมีความกตัญญูต่อชาติจะเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าบุคคลแห่งความกตัญญู
การจัดทำโครงงานในครั้งนี้ พวกเราได้รับความอนุเคราะห์จากนายสุวรรณ  บุญจูง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปากห้วยวังนอง  คุณครูวชิราภรณ์  สัตยากูล  คุณครูมยุรี  ฉวีรักษ์  คุณครูทานิยา  ศรีเมืองซอง และคุณครูสุภวัฒน์  นามเจริญ  ที่ได้ให้คำแนะนำและคำปรึกษา แก่พวกเราในด้านความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวกับการทำโครงงาน  การค้นคว้าหาเอกสาร  อำนวยความสะดวกแก่พวกเราในการจัดกิจกรรมได้ประสบความสำเร็จไปด้วยดี  นอกจากนี้พวกเรายังได้กำลังใจจากเพื่อน ๆ ทุกคนที่คอยช่วยเหลือในการบันทึกภาพ  พวกเราจึงขอขอบคุณทุกท่าน   ไว้  ณ  โอกาสนี้


คณะผู้จัดทำ






ผังมโนทัศน์

ประวัติและผลงาน



ประวัติส่วนตัว
นางสาววชิราภรณ์ สัตยากูล เกิดเมื่อวันที่ ๓๐ เดือนธันวาคม พ.. ๒๕๐๓ อายุ ๕๑ ปี ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ สถานศึกษา โรงเรียนบ้านปากห้วยวังนอง สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตำบล/แขวง ปทุม อำเภอ/เขต เมือง จังหวัด อุบลราชธานี โทรศัพท์ ๐๔๕-๒๔๔๐๐๙ โทรสาร ๐๔๕-๒๔๔๐๐๙ e-mail wachira_pn@hotmail.com
ประวัติการศึกษา

วุฒิการศึกษา
วิชาเอก/โท/สาขา
ปีที่สำเร็จการศึกษา
สถาบันการศึกษา
ปริญญาตรี ภาษาอังกฤษ ๒๕๒๘ วิทยาลัยครูอุบลราชธานี
ปริญญาโท ไทยคดีศึกษา ๒๕๔๑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม





ปี
สภาพความสำเร็จ
ผู้ให้เกียรติบัตร
๔๖
ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นครูภูมิปัญญาไทย เครือข่ายด้าน ปรัชญา ศาสนา และประเพณี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
๔๘
ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประเมินตัวแทนครูดีเขตพื้นที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๗ เครือข่ายที่ ๓ ปทุม
๔๘
ครูดีเขตพื้นที่” ปีการศึกษา ๒๕๔๗ สาขาภาษาต่างประเทศ สพท. อบ.
๔๘
ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ช่วงชั้นที่ ๒ ในการแข่งขันประกวดสื่อการสอนภาษาอังกฤษ สพท. อบ.
๔๙
ได้รับรางวัลการประกวดนวัตกรรมการศึกษาด้านการเรียนการสอน ระดับ ดี สพท. อบ.
๕๐
รางวัลยอดเยี่ยม “ครูยอดนักอ่าน” โรงเรียนบ้านปากห้วยวังนอง
๕๐
เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชนดีเด่นเนื่องในโอกาสวันเยาวชนแห่งชาติ ปี ๒๕๕๐ จังหวัดอุบลราชธานี
๕๑
รางวัลยอดเยี่ยม ประเภทครูรักการอ่าน ระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่ สพท. อบ.
๕๑
ได้ให้ความร่วมมือจัดนิทรรศการสัปดาห์ห้องสมุด สพท. อบ.























ปี
สภาพความสำเร็จ
ผู้ให้เกียรติบัตร
๕๑
ได้ให้ความร่วมมือจัดนิทรรศการสัปดาห์ห้องสมุด สพท.อบ.
๕๑
ได้รับรางวัลเหรียญทอง การประกวดนวัตกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ระดับประถมศึกษา สพฐ.
๕๒
ได้รับรางวัล รองชนะเลิศครูผู้สอนดีเด่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เครือข่ายสถานศึกษาที่ ๓
๕๓
ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ การเขียนบทความวารสารโรงเรียนวิถีพุทธ สพท.อบ.
๕๔
ได้เข้าร่วมโครงการ “การพัฒนาสร้างต้นแบบด้วยดินเหนียวและแม่พิมพ์จากปูนปลาสเตอร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
๑๖ ก.. นี้

ได้รับคัดเลือกตามโครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์เชิดชูยกย่อง “ครูสอนดี” ประจำปี ๒๕๕๔ จากชุมชนและโรงเรียน คณะครู ผู้บริหาร ของตำบลปทุม
เทศบาลนครอุบล
เทศบาลตำบลปทุม
๒๕๕๔
ได้เข้าร่วมโครงการอบรมนักเขียนและช่างภาพอนุสาร อสท. รุ่นที่ ๒ การ ททท.




ศรีสัชนาลัยเมืองแห่งคนดี



รุ่งเรืองใต้เงาอดีต มีหลากหลายมิติวิถีชีวิต เลื่องลือวัฒนธรรมไทยพวน
วชิราภรณ์ สัตยากูล.....เรื่อง ธานี กระแสร์ชล.....ภาพ
สุโขทัยเมืองแห่งรุ่งอรุณยามเช้า ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางประวัติศาสตร์ มายาวนานเกิน 700 ปีอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 427 กิโลเมตร ที่สุโขทัยนี้มีโบราณสถาน โบราณวัตถุและแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย ประกอบกับสภาพธรรมชาติ ที่ยังคงความงดงามอยู่ตามทิวเขาต่างๆที่ต้องการให้ผู้คนได้เดินทางไปศึกษาและเรียนรู้ แหล่งอารยธรรม ที่ยังคงสมบูรณ์และอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานได้ร่วมรักษา ความสมบูรณ์และยิ่งใหญ่ของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชนาลัย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อปี พ..2534 จากองค์การ UNESCO แม้ว่าเวลาจะล่วงเลยมาแล้ว 20 ปี ก็ตาม ความงดงามทางธรรมชาติและวัฒนธรรมประเพณียังมีเสน่ห์ดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้เดินทางไปเยือนสุโขทัย โดยเฉพาะประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ
การเดินทางเพื่อศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์ จากอุบลราชธานี ถึง สุโขทัยนั้นใช้เวลาเดินทางด้วยรถยนต์ ประมาณ 13-14 ชั่วโมง ด้วยความโชคดี เพราะว่าการเดินทางพร้อมด้วยคณะวิทยากรและทีมงานอสท. นักเขียนและช่างภาพสารคดี รุ่นที่ 2 เดินทางท่ามกลางสายฝนโปรยปราย จากกรุงเทพมหานคร มุ่งสู่สุโขทัย แม้ว่าการเดินทางจะล่าช้าไปบ้างแต่ทุกคนในคณะก็มีรอยยิ้มแห่งความสุขใจทั้งตื่นเต้นและดีใจ เพราะเป็นครั้งแรกในการเดินทางที่ต้องเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการเดินทางตลอดเวลา เพราะมีคณะวิทยากรที่เอาใจใส่ ดูแล ให้ความรู้ ให้ข้อคิด ให้แง่มุม ในการเขียนสารคดีให้มีชีวิตน่าอ่าน น่าติดตาม ให้ความบันเทิงใจ แก่ผู้อ่านทุกท่าน การได้สัมผัสเมืองสุโขทัยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 และได้เรียนรู้ศึกษาค้นหาตัวตน(อัตลักษณ์) ของสุโขทัยและศรีสัชนาลัย ได้หลากหลายแง่มุมและได้อรรถรสในการเดินทางอันเปรียบเทียบด้วยคุณค่าอันมหาศาล
เมื่อเดินทางถึงโรงแรม The Legenda Hotel ในเมืองสุโขทัย แม้เวลาอาหารกลางวันได้เลยไปแล้ว ทุกคนมีความตั้งใจ ในความอิ่มอร่อยกับรสชาติของอาหารจนหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง เมื่อถึงที่พักอันสวยงามรมรื่นด้วยแมกไม้ ธรรมชาติ สายน้ำไหลดัง...ซู่...ซู่ และความเงียบสงบประกอบด้วยเสียงดนตรีพื้นเมืองบ่งบอกความอ่อนช้อย ไพเราะ ทุกคนเตรียมตัวเดินทางไปพิพิธภัณฑ์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ดื่มด่ำกับความสุขบนรถตุ๊ก...ตุ๊ก เที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยมีวิทยากรจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สุโขทัยพร้อมคณะได้นำพวกเราเยี่ยมชม รอบๆเมือง ซึ่งมีวัดเก่าแก่มากมายเกือบ 200 วัดทำให้ผู้เขียนหวลลำรึกถึงเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นเมืองมรดกโลกเหมือนกันมีวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมวิถีชีวิตเงียบสงบยังคงรักษาความดั้งเดิมของวัฒนธรรมประเพณีไว้ได้อย่างดีเยี่ยม
วันแห่งความตื่นเต้น และระทึกใจคือการได้ไปเยี่ยมชมเมืองแห่งคนดีศรีสัชนาลัย แม้ว่าจะเป็นครั้งแรกที่ได้สัมผัสจริงๆด้วยความอนุเคราะห์จากอาจารย์สมชาย เดือนเพ็ญ หัวหน้างานพัฒนาชุมชน สำนักปลัดเทศบาล ตำบลศรีสัชนาลัย ผู้มีเชื้อสายของชาวสวรรคโลกโดยแท้ ได้นำคณะพวกเรา ท่องเที่ยวอย่างสำราญ เบิกบานใจ ได้พบได้เห็น ได้สัมผัสความเจริญรุ่งเรือง ภายใต้เงาอดีตอันยาวนาน เพราะเมืองนี้ได้ชื่อว่า เป็นคนดี ดังคำกล่าวที่ว่า ฝีมือคนศรีสัชนาลัย รู้ดิน รู้น้ำ รู้ไฟอ่อน รู้ไฟแก่ การปั้นหม้อนั้นดีกว่าจับดาบ เป็นเครื่องบ่งชี้ชัดว่า คนศรีสัชนาลัยนั้นมีฝีมือในการทำเครื่องปั้นดินเผาสังคโลก ที่เมื่อเปิดประตูเข้าไปก็ต้องตื่นตากับ มิวเซียมเล็กๆ ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อ ศรัทธาและภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่าอันส่งต่อมาถึงคนรุ่นหลังอย่างนาชื่นชม การไปเยี่ยมชมหมู่บ้านเกาะน้อย เป็นหมู่บ้านทำเครื่องปั้นดินเผาสังคโลก เนื้อแกร่งที่หลากหลายไปด้วยรูปแบบการใช้ทั้งจาน ชาม หม้อกระปุก ตุ๊กตา ปัจจุบัน ปั้นสัตว์ในวรรณคดีไทย เช่น ปั้นสิงห์ ปั้นเสือ พระพิฆเนศและสัตว์ตัวใหญ่ได้ราคา ซึ่งได้ราคาดีมาก
พนักงานปั้นดินที่ร้านประเสริฐเครื่องปั้นบอกว่าการปั้นดินแบบสังคโลกนี้ ใช้ดิน 2 แบบ จากทุ่งนาได้ดินสีดำ และ จากหินลูกลังได้ดินสีเหลือง การเผาปัจจุบันใช้เตาแก๊ส การขุดลงไปในหนองน้ำ เนินดินและที่นา ของหลายคน ต้องเจอกับเครื่องสังคโลก ใหญ่บางเล็กบางตามความสำคัญของชุมชนโบราณ ตรงไหนขุดเจอเตาทุเรียนมีมากมายหลายแบบ ตามจุดต่างๆในเมืองเก่า ที่บ้านเกาะน้อยมีประตูเตาหม้อ ประตูนี้เป็นทางเข้าบ้านปั้นหม้อ...ปั้นดิน ซึ่งการผลิตเครื่องสังคโลกในสมัยที่กรุงสุโขทัยได้ติดต่อกับจีน ส่วนกำมวิธีผลิตแบบเคลือบก็มาจากจีนเช่นกัน
มนต์เสน่ห์ของศรีสัชนาลัยที่ขึ้นชื่อที่สุด คือ การทอผ้า ของชาวบ้านหาดเซียวเป็นงานทอผ้าแบบดั้งเดิมที่ยังคงทำกันอยู่แทบทุกบ้านของชาวไทยพวน ซึ่งรอนแรมอพยพข้ามแม่น้ำจากเมืองเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมาปักหลักมากกว่า 200 ปี การทอผ้าตีนจกที่บ้านหาดเสี้ยวถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าทรัพย์สินใดๆที่พวกเขานำติดตัวมา ข้ามลำน้ำโขง สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนเลยอยู่ที่การทอแบบยกดอกและการจกดูสวยงามมีความละเอียด ประณีตมาก การชมพิพิธภัณฑ์ บ้านชาวไทยพวน เครื่องมือการเกษตร เครื่องมือ เครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและหาได้ยากในยุคปัจจุบันนี้ เครื่องมือบางอย่างได้ยกเลิกการใช้ไปแล้ว ความประทับใจ ผ้าทองคำที่ร้านสาธร โดยมีคุณลุงโสรัจ ประสบสันติ เป็นเจ้าของร้านผ้าทองคำ ท่านมีพิพิธภัณฑ์ ผ้าไทยพวน ไว้ให้ศึกษาอยากล่ะเอียด มีประวัติชาวไทยพวน มีผ้าซิ่นไหมคำ ทอด้วยทองคำแท้ 82 บาท ผ้าซิ่นทองจากเซียงตุง จากเซียงขวางและจากหลวงพระบาง มีลวดลายสวยงาม 9 ลาย แต่ล่ะลายเป็นภาษาพื้นเมือง ของชาวไทยพวน เช่น ลายเครือน้อย ลายเครือใหญ่ ลายแปดขอ และลายดอกมนต์ เป็นต้น
โบราณสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่ต้องใจอยากไปเยือนมาก เพราะยังไม่เคยเห็นของจิงได้ยินแต่เสียงเล่าลือ ความงดงาม ของโบราณสถานนั้น คือ อุทยานประวัติสาสตร์ ศรีสัชนาลัย ตัวเมืองโบราณนี้อยุ่ในเขต หมู่บ่านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย เวลาบ่ายคณะพวกได้เดินทางถึงอุทยานประวัติศาตร์ ศรีสัชนาลัย ซึ่งร่มรื่น ครึ้มเขียวขจี ด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ช่วยคายร้อน ได้อย่างมหัศจรรย์ ตื่นใจกับบรรยากาศ ที่กำลังได้สัมผัส พ้นประตูทางเข้ารถราง สำหรับพานักท่องเที่ยวพร้อมมัคคุเทณจอดรถรับพวกเราอยู่แล้ว มี คุณบุญเตือน ปะโลม อายุ 63 ปี เจ้าหน้าที่ วิทยากร บรรยาย ถึงความงดงามของ เมืองศรีสัชนาลัย ว่า เดิมเรียกว่า เมืองเชลียง ตั้งอยู่บนที่ลุ่มแม่น้ำยม ที่จริงแล้วมีชื่อเรียกถึง 4 ชื่อ เชลียง เซียงชื่น ศรีสัชนาลัย และสวรรคโลก แต่ความเป็นมาของเมืองศรีสัชนาลัยนั้นหน้าเชื่อว่าสืบทอดมาจากเมืองเซียงชื่น ซึ่งมีทำเลยุบริเวณที่ราบฝั่งขวางของแม่น้ำยม โดยมีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นหลักของเมือง เมืองเชลียง เปลี่ยนชื่อเป็น ”ศรีสัชนาลัย” ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ขึ้นครองกรุงสุโขทัย
ภายในอุทยานประวัติสาสตร์ ศรีสัชนาลัย มีวัดหลักๆอยู่ 4 วัดกลางใจเมือง ได้แก่ วัดช้างล้อม เป็นวัดใหญ่มีเจดีย์ทรงลังกาองค์ใหญ่ตั้งอยู่ ที่ฐานเจดีย์มีช้างปูนปั้นประดับลายล้อมทั้งหมด 39 เชือก ความงดงามของฝีมือช่างโบราณช้างเล่านี้ จองหน้าชูงังทักทายผู้มาเยือน วัดเจดีย์เจ็ดแถวอยู่ตรงข้ามกับวัดช้างล้อม มีเอกลักษณ์โดดเด่นกว่าวัดอื่นๆ มีกำแพงศิลาแลง ล้อมอยู่โดยรอบมีพระเจดีย์ทรงข้าวบิณฑ์ตั้งอยู่ บริเวณกลางวัด รอบเจดีย์องค์นี้มีเจดีย์ใหญ่นี้ แบบต่างๆประดับชุ้มอีก 33 องค์ วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบเจดีย์ ทรงลังกาตั้งอยู่ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส วัดที่หน้าสนใจ เพราะมีลายปูนปั้นเก่าแก่ 100% และลวดลายปูนปั้นนั้นนำมาทำเป็นลายทองปัจจุบันนำไปเป็นลายเครื่องทองเรียกกันว่า ทองสุโขทัย หรือทองศรีสัชนาลัย นั้นเอง ลายปูนปั้นที่ยังคงเหลืออยู่ คือ ลายเทพนม ลายรักร้อย ลายดวงบัวตั๋น ลายดอกรัก ลายมนุษย์กึ่งวานร ซึ่งยังคงเก็บรักษาไว้อย่างดีให้ผู้คนที่ไปเยือนได้ชื่นชม ความงดงาม
ความเป็นอัตลักษณ์โดเด่นของชาวศรีสัชนาลัยนั้น จากอดีตที่เคยรุ่งเรืองมาถึงปัจจุบันนี้ ยังมีความเจริญให้ได้พบเห็นและศึกษา ถึงรากเหง้าความเป็นมาวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายการดำรงรักษาไว้ ซึ่งวัฒนธรรมเป็นการรักษาชาติ เป็นความจริงแน่นอน หินแต่ละก้อน อิฐแต่ละแผ่น ต้นไม้แต่ละต้น หญ้าแต่ละก่อ พระพุทธรูปและร่องรอยความงดงามหลังเบื้องพลังทิ้งไว้แต่ยอดแหลมของเจดีย์ ทำยังคงทำจารจารึกร่องรอยของอดีต ผ้าแต่ล่ะผื้น ลายผ้าแต่ละลาย หมอนแต่ละใบ เครื่องใช้ในการเกษตรของชาวไทยพวนหรือแม้แต่เครื่องสังคโลกของบ้านเกาะน้อยที่ยังคงงดงาม ด้วยลีลาและลวดลายแปลกใหม่แต่ยังคงรักษาแบบเดิมไว้ให้มากที่สุด ร่องรอยจารึกอดีตเหล่านี้ ล้วนเป็นความดีที่ชาวศรีสัชนาลัย ได้สั่งสมมาให้ลูกหลานในปัจจุบันนี้ช่วยกันเก็บรักษาไว้คอยเล่าให้คนรุ่นหลังฟัง

ขอขอบคุณด้วยมิตรไมตรี

-ทีมงานวิทยากรทุกท่าน
-คณะอนุสารอสท.
-เพือนๆนักเขียนช่างภาพรุ่นที่ 2
-คุณสมชาย เดือนเพ็ญ
-การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเมือง สุโขทัย

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

"เด็กไทยคนเก่ง หัวใจแกร่ง" ใช้คุณธรรมนำชีวิต ฝ่าวิกฤตได้อย่างไร



เด็กไทยคนเก่ง หัวใจแกร่ง
ใช้คุณธรรมนำชีวิต ฝ่าวิกฤตได้อย่างไร

ชุมชนตำบลปทุม ห่างจากกลางใจเมืองอุบลประมาณ 4 กิโลเมตร มีธรรมชาติสวยงามร่มรื่นด้วยสายน้ำเย็นฉ่ำตลอดปี ประกอบด้วย 12 หมู่บ้าน วัดใกล้บ้านที่ เป็นอุทยานการศึกษาในวัด และวัดพัฒนาตัวอย่างคือ วัดมงคลโกวิทาราม มีพระครูสิริสุตวิมล เป็นเจ้าอาวาสและอาจารย์กุ๊กไก่เป็นรองเจ้าอาวาส และเทศบาลตำบลปทุม และโรงเรียนบ้านปากห้วยวังนอง ร่วมแรงพัฒนาชุมชนและเยาวชนด้วยโครงการอบอุ่นด้วยรสพระธรรม และ เปิดโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์เวลา09.30 น.-12.00 น. มีนักเรียนในชุมชนทุกคนที่สนใจ ใฝ่คุณธรรมได้ ร่วมกิจกรรมเรียนรู้โดยมีห้องเรียน 4 ห้องเรียน
โรงเรียนบ้านปากห้วยวังนอง อยู่ในเขตบริการตำบลปทุม ได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ได้เปิดบ้านคุณธรรมชั้นนำ เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมาพัฒนาโครงการ ต่อเนื่อง ร่วมกับวัด บ้าน โรงเรียน เช่น เข้าค่ายคุณธรรม นำความรู้และโครงการปฏิบัติธรรมเป็นพุทธบูชา เนื่องในสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา (ครอบครัวอะอุ่นด้วย พระธรรม) งานวิจัยระดับโรงเรียนยกระดับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ต่อเนื่องจน

ปัจจุบัน การพัฒนาทุกด้านอย่างเป็นระบบทำให้เกิดผลสำเร็จในหลายด้านและความสำเร็จ ที่สุดภาคภูมิใจคือ เด็กหญิง สุวนันท์ โสมเกษตรินทร์ หรือน้องนุ้ย ได้เป็นตัวอย่างเด็กไทยที่คิดดี ทำดี ได้ทุกสถานที่ ใช้ความรู้ความคิด ประสบการณ์ จากการได้เข้าร่วมกิจกรรม นุ้ยอายุ 12 ปี เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 ปีนี้ได้รับคัดเลือกเป็นประธานนักเรียนด้วย ทำหน้าที่ตลอดปี ควบคุม ดูแลความเรียบร้อย และรายการเสียงตามสาย กิจกรรมหน้าเสาธงพร้อมคณะ นุ้ยบอกเพื่อน ๆ ทั้ง 15 คนว่า “พวกเราต้องร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาโรงเรียนของเรานะ” เพื่อน ๆ ตกลงและจะปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่รุ่นน้อง ๆ